ศึกษาหนังสือ "พุทธธรรม" (ที่วัดญาณเวศกวัน หรือ ออนไลน์)

 หลักสูตร ตามรอย.. พุทธธรรม (แบบง่าย - ไม่มีการบ้าน)

ชวนพุทธบริษัทมาร่วมกันศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า (พุทธธรรม) 
ตามแนวทางของหนังสือพุทธธรรม เพื่อให้เห็นภาพรวมของพุทธธรรม
เกิดความเข้าใจในความหมายและเป้าหมายของชีวิต
เพื่อการเดินทางของชีวิตที่ถูกตรง เกิดประโยชน์สุขทั้งต่อตนเอง สังคม และโลกอย่างยั่งยืน
 

รุ่นพรรษา 2567 :  27 กรกฎาคม - 12 ตุลาคม 2567

ทุกวัน เสาร์ 19.00 - 21.00 น.

เปิดรับสมัคร 1 ก.ค. 67

 

คลิกเพื่อเข้าสู่ ห้องประชุมซูม
(ทุกวันเสาร์ 19.00 น.  เปิดห้องก่อนเวลาประมาณ 15 นาที)

ลิงก์ห้องประชุมซูม (สำหรับผู้ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมแล้วเท่านั้น)
https://us02web.zoom.us/j/86404957156?pwd=aWdpaWZiWmRZSm5hTURIVkNWRDZYUT09
Meeting ID: 864 0495 7156
Passcode: 010

 

คลิกเพื่อเข้าร่วมกลุ่มไลน์ "ตามรอย พุทธธรรม 67"
หากต้องการรับข้อมูล และการแจ้งเตือน

 

คลิกเพื่อดูคลิปย้อนหลัง  :  ปี 67 | ปี 66ปี ๖๕ | ปี ๖๔

 

คลิกเพื่อเข้าสู่ บทเรียนออนไลน์


แนะนำ หลักสูตร "ตามรอย.. พุทธธรรม"
๑. การเรียนรู้ :  ศรัทธา สู่ ปัญญา
     ใจความพุทธธรรม บทที่ 12 - 13
     ตัวอย่างเนื้อหา
     : ความเชื่อ กับความรู้ต่างกันอย่างไร ?
     : การนับถือพระรัตนตรัย ทำให้พ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
     : มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ จริงหรือ ?
๒. ชีวิต คืออะไร :  ขันธ์ อายตนะ 
     ชีวิตเป็นอย่างไร :  ไตรลักษณ์
     ใจความพุทธธรรม บทที่ 1 - 3
     ตัวอย่างเนื้อหา
     : ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต่างกันไหม ?
     : การเข้าใจไตรลักษณ์ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ?
     : การกำหนดรู้ รูป นาม ทำอย่างไร ?
๓. อริยสัจ :  สรุป "พุทธธรรม" ลงในอริยสัจ 
     ใจความพุทธธรรม บทที่ 17
     ตัวอย่างเนื้อหา
     : กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร ?
     : ความอยาก เป็นบาป ใช่หรือไม่ ?
     : ฉันทะ เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
๔. ชีวิต เป็นไปอย่างไร : กรรม และปฏิจจสมุปบาท
     ใจความพุทธธรรม บทที่ 4, 5, 20
     ตัวอย่างเนื้อหา
     : กรรมคืออะไร ให้ผลในระดับบุคคล และสังคมอย่างไร ?
     : กรรมเก่ามีหรือไม่ ? เกิดมาเพื่อใช้กรรมใช่ไหม ?
     : สภาวะขณะที่เป็น กุศล-อกุศล เป็นอย่างไร ?
๕. ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร : เป้าหมายชีวิต 
     ใจความพุทธธรรม บทที่ 6 - 10, 22 - 23
     ตัวอย่างเนื้อหา
     : ประโยชน์ที่ควรได้จากการเกิดเป็นมนุษย์มีอะไรบ้าง ?
     : อยากนิพพาน เป็นตัณหาหรือไม่ ?
     : ความสุขมีกี่แบบ / ควรมีท่าทีต่อความสุขอย่างไร ?
๖. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : บุพภาคแห่งการศึกษา 
ใจความพุทธธรรม บทที่ 11 - 13
ตัวอย่างเนื้อหา
: อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ?
: มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ทางสายกลาง คือกลางอย่างไร สัมพัทธ์กับอะไร ?
๗. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : ศีล
ใจความพุทธธรรม บทที่ 15
ตัวอย่างเนื้อหา
: ธรรม กับ วินัย สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ฉันทะ สัมพันธ์กับพรหมวิหาร และสังคหวัตถุ อย่างไร ?
: เป้าหมายของการรักษาวินัย คือเพื่อตน หรือเพื่อสังคม ?
: การรักษาศีล เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
๘. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : สมาธิ
ใจความพุทธธรรม บทที่ 16
ตัวอย่างเนื้อหา
: การปฏิบัติธรรม คือทำอะไร ?
: สติ สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร ?
: สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร การปฏิบัติ ต้องเริ่มต้นอย่างไร ?
: วิธีการเลือกกรรมฐานที่เหมาะ ทำอย่างไร ?
: อุเบกขา คืออะไร (บ้าง) สำคัญอย่างไร ในกรณีใด ?
๙. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : ปัญญา
ใจความพุทธธรรม บทที่ 14
ตัวอย่างเนื้อหา
: พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร ?
: สัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: อะไรเป็นปัจจัยให้เกิด โลกียสัมมาทิฏฐิ และโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ?
: อะไรคืออารมณ์ของสมถะ และอะไรคืออารมณ์ของวิปัสสนา ?
๑๐. บทสรุป ภาพรวมของ "ชีวิต"
ใจความพุทธธรรม : ภาพรวมมัชเฌนธรรมเทศนา, ภาพรวมมัชฌิมาปฏิปทา
ตัวอย่างเนื้อหา
: พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร ?
: เราควรใช้ชีวิตอย่างไร เพื่ออะไร ?
: เราจะลงมือทำเมื่อใด ?
"ญาณเวศก์.ออนไลน์" เป็นช่องทางสื่อธรรมแนวทดลอง ที่เริ่มต้นจาก "หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์" ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งในวัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม
ตั้งขึ้นเพื่อ "ประโยชน์อันกว้างขวางมั่นคงถาวรในการศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา แก่นักศึกษาและผู้สนใจในกาลต่อไป"

เมื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น "การศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา...ในกาลต่อไป" จึงไม่จำกัดอยู่เพียงอาคารหลังใดหลังหนึ่ง
หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย และไร้ข้อจำกัดด้านกาลเวลา

"ญาณเวศก์.ออนไลน์" จึงเกิดขึ้นเพื่อการทดลองนำเสนอสื่อธรรม ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ สมสมัย และสอดคล้องตามหลักพุทธธรรม
โดยมิได้มุ่งให้เกิดความเชื่ออย่างงมงาย หรือยึดติดในตัวบุคคล แต่เอื้อให้เกิดการตั้งคำถาม ตรวจสอบ ศึกษา และนำไปสู่การพัฒนา ทั้งในระดับชีวิตของปัจเจกบุคคล และระบบสังคม ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ และโลกทั้งมวล


เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง