กิจกรรมออนไลน์ ที่ชวนกันศึกษาคำสอนของพระพุทธเจ้า (พุทธธรรม) ตามแนว ลำดับ หัวข้อ ของหนังสือพุทธธรรม โดยมิได้ออกแบบหรือดำเนินกิจกรรมโดยผู้เขียนหนังสือพุทธธรรม และไม่สามารถสื่อเนื้อหา/จุดประสงค์ ทั้งหมดได้ตรงและครบถ้วน ตามหนังสือพุทธธรรม แต่ก็มุ่งให้เห็นภาพรวมของพุทธธรรม ตามแนวหนังสือพุทธธรรม เพื่อเข้าใจความหมาย และเป้าหมาย ของชีวิต เพื่อการเดินทางของชีวิตที่ถูกตรง และสร้างความสุขอย่างยั่งยืน
๑. ศึกษาบทเรียนออนไลน์ด้วยตนเอง ที่ใดก็ได้ ทุกสัปดาห์ ประมาณ ๓ - ๖ ชม./สัปดาห์ (๑๕ สัปดาห์) ๒. สนทนา/ฟังธรรม/ปฏิบัติ/ถามตอบ ออนไลน์ กับพระวิทยากร ผ่าน Zoom ทุกวันเสาร์ ๑๙.๐๐ - ๒๑.๐๐ น.
ลิงก์ห้องประชุมซูม (สำหรับผู้ที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรมแล้ว)
https://us02web.zoom.us/j/87158004533?pwd=UPVoP_JKoVMIa-9nA1UobHwiy4LyJz.1 ๓. ฝึกปฏิบัติด้วยตนเอง และเข้าร่วมกิจกรรม ยืน นั่ง ฟัง เดิน เจริญสติ ทุกวันอาทิตย์ ๑๙.๓๐ - ๒๐.๓๐ น.
เริ่มกิจกรรมตั้งแต่ ๒ กรกฎาคม - ๑๕ ตุลาคม ๒๕๖๕
- มีเวลาในการศึกษาด้วยตนเอง และเข้าเรียนออนไลน์ตามรูปแบบกิจกรรมที่กำหนดได้ ตลอด ๑๕ สัปดาห์ - มีอายุ ๑๕ ปีขึ้นไป และสามารถใช้บทเรียนออนไลน์ และห้องประชุมออนไลน์ได้
- คอมพิวเตอร์ notebook หรือ tablet ที่สามารถเข้าโปรแกรม Zoom meeting ได้
มีลำโพง และมีหน้าจอใหญ่เพียงพอที่จะอ่านข้อความได้สะดวก - กิจกรรมนี้ ใช้การอ้างอิงหนังสือพุทธธรรม จากระบบพุทธธรรมออนไลน์
ผู้ร่วมกิจกรรมไม่จำเป็นต้องมีหนังสือพุทธธรรม
หากต้องการรับหนังสือพุทธธรรม ฉบับปรับขยาย สามารถติดต่อรับด้วยตนเอง
พร้อมเอกสารตามรายละเอียดที่กำหนดในเว็บไซต์ของวัดญาณเวศกวัน
(หนังสือมีจำนวนจำกัด และไม่อนุญาตให้รับซ้ำหากเคยได้รับแล้ว)
แนะนำ หลักสูตร "ตามรอย.. พุทธธรรม"
๑. การเรียนรู้ : ศรัทธา สู่ ปัญญา
ใจความพุทธธรรม บทที่ 12 - 13
ตัวอย่างเนื้อหา
: ความเชื่อ กับความรู้ต่างกันอย่างไร
: การนับถือพระรัตนตรัย ทำให้พ้นทุกข์ได้อย่างไร
: มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ จริงหรือ
๒. ชีวิต คืออะไร : ขันธ์ อายตนะ
ชีวิตเป็นอย่างไร : ไตรลักษณ์
ใจความพุทธธรรม บทที่ 1 - 3
ตัวอย่างเนื้อหา
: ทุกขเวทนา ทุกขลักษณะ ทุกขอริยสัจ ต่างกันไหม ?
: การเข้าใจไตรลักษณ์ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตอย่างไร ?
: การกำหนดรู้ รูป นาม ทำอย่างไร ?
๓. อริยสัจ : สรุป "พุทธธรรม" ลงในอริยสัจ
ใจความพุทธธรรม บทที่ 17
ตัวอย่างเนื้อหา
: กิจที่พึงกระทำต่ออริยสัจแต่ละข้อ คืออะไร ?
: ความอยาก เป็นบาป ใช่หรือไม่ ?
: ฉันทะ เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
๔. ชีวิต เป็นไปอย่างไร : กรรม และปฏิจจสมุปบาท
ใจความพุทธธรรม บทที่ 4, 5, 20
ตัวอย่างเนื้อหา
: กรรมคืออะไร ให้ผลในระดับบุคคล และสังคมอย่างไร ?
: กรรมเก่ามีหรือไม่ ? เกิดมาเพื่อใช้กรรมใช่ไหม ?
: สภาวะขณะที่เป็น กุศล-อกุศล เป็นอย่างไร ?
๕. ชีวิต ควรให้เป็นอย่างไร : เป้าหมายชีวิต
ใจความพุทธธรรม บทที่ 6 - 10, 22 - 23
ตัวอย่างเนื้อหา
: ประโยชน์ที่ควรได้จากการเกิดเป็นมนุษย์มีอะไรบ้าง ?
: อยากนิพพาน เป็นตัณหาหรือไม่ ?
: ความสุขมีกี่แบบ / ควรมีท่าทีต่อความสุขอย่างไร ?
๖. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : บุพภาคแห่งการศึกษา
ใจความพุทธธรรม บทที่ 11 - 13
ตัวอย่างเนื้อหา
: อะไรคือปัจจัยให้เกิด สัมมาทิฏฐิ ?
: มรรคมีองค์ ๘, ไตรสิกชา, ภาวนา ๔ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ทางสายกลาง คือกลางอย่างไร สัมพัทธ์กับอะไร ?
๗. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : ศีล
ใจความพุทธธรรม บทที่ 15
ตัวอย่างเนื้อหา
: ธรรม กับ วินัย สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: ฉันทะ สัมพันธ์กับพรหมวิหาร และสังคหวัตถุ อย่างไร ?
: เป้าหมายของการรักษาวินัย คือเพื่อตน หรือเพื่อสังคม ?
: การรักษาศีล เป็นปัจจัยสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างไร ?
๘. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : สมาธิ
ใจความพุทธธรรม บทที่ 16
ตัวอย่างเนื้อหา
: การปฏิบัติธรรม คือทำอะไร ?
: สติ สมาธิ ปัญญา ทำงานร่วมกันอย่างไร
: สมถะ กับ วิปัสสนา ต่างกันอย่างไร การปฏิบัติ ต้องเริ่มต้นอย่างไร ?
: วิธีการเลือกกรรมฐานที่เหมาะ ทำอย่างไร ?
: อุเบกขา คืออะไร (บ้าง) สำคัญอย่างไร ในกรณีใด ?
๙. ชีวิต ควรเป็นอยู่อย่างไร : ปัญญา
ใจความพุทธธรรม บทที่ 14
ตัวอย่างเนื้อหา
: พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร ?
: สัมมาทิฏฐิ กับสัมมาสังกัปปะ สัมพันธ์กันอย่างไร ?
: อะไรเป็นปัจจัยให้เกิด โลกียสัมมาทิฏฐิ และโลกุตตรสัมมาทิฏฐิ ?
: อะไรคืออารมณ์ของสมถะ และอะไรคืออารมณ์ของวิปัสสนา ?
๑๐. บทสรุป ภาพรวมของ "ชีวิต"
ใจความพุทธธรรม : ภาพรวมมัชเฌนธรรมเทศนา, ภาพรวมมัชฌิมาปฏิปทา
ตัวอย่างเนื้อหา
: พระพุทธเจ้า ตรัสรู้อะไร ?
: เราควรใช้ชีวิตอย่างไร เพื่ออะไร ?
: เราจะลงมือทำเมื่อใด ?
Round | Register | |
---|---|---|
02 ก.ค. 2565 19:00 - 15 ต.ค. 2565 21:00 | Register |