กลเกมการเมือง
Game of Power

 
เมื่อเราต้องอยู่ในสังคม
ที่ขับเคลื่อนด้วยผู้นำทางการเมือง
การเมืองจึงเป็นเรื่องที่ควรต้องใส่ใจ
และเข้าไปมีส่วนร่วม

แต่จะเข้าใจ...
นักการเมือง
ระบบการเมือง
ข้อจำกัดทางการเมือง
และการมีส่วนได้ส่วนเสีย
อย่างมีส่วนร่วม ได้อย่างไร?


สมัครร่วมเล่นเกม

ติดต่อ ศูนย์สิกขา วัดญาณเวศกวัน
โทรศัพท์  ๐๒-๔๘๒-๗๓๖๕ และ ๐๓๔-๑๐๒-๓๗๓ กด ๒ 
LINE Official Account ID : @watonline

- เหมาะสำหรับทุกคนที่ร่วมเป็นสมาชิกในสังคม ไม่ว่าจะสนใจหรือเบื่อการเมืองก็ตาม
- กรุณาเตรียม notebook หรือ tablet มาด้วย

 


[ ประเด็นการเรียนรู้ ]

บทนำ : ตั้งคำถาม ต่อสังคม 

มุมมองต่อสังคม ที่แท้จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และพัฒนา เราถูกสอนกันผิดๆ ให้มองโลกทีละตอน ทีละส่วน ด้วยความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะด้าน โดยไม่ตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ของมุมมองนั้น และเมื่อเราตัดความจริงออกเป็นชิ้น ๆ เราก็ไม่อาจมองเห็นความเป็นเหตุ เป็นผล ที่เกี่ยวพันกันของสรรพปรากฏการณ์    
 (อ่านต่อ...)

การพัฒนาที่ยั่งยืน : ภาวนา 4 - ธรรมานามัย

การพัฒนาที่ยั่งยืน กำลังเป็นคำนิยมไม่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นที่นิยมพูดกันทั่วโลก ที่จริงนั้น ไม่ใช่ว่า “ไม่นิยมเฉพาะเมืองไทยแต่นิยมไปทั่วโลก” แต่ควรจะพูดในทางกลับกันว่า “เพราะทั่วโลกเขานิยมพูดกัน เมืองไทยก็เลยนิยมตามไปด้วย”
ที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็เพราะว่าโลกนี้ประสบปัญหากับการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ก็เลยต้องคิดแบบแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นมา 
 (อ่านต่อ...)



ค่านิยมทางสังคมที่เป็นธรรม : เสรีนิยม vs สังคมนิยม

ค่านิยมทางสังคม (Social value) คือความคิดของกลุ่มหรือสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม หรือถูกทำนองคลองธรรม สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งใดน่านิยมชมชอบ สิ่งใดน่ารังเกียจ .. ที่เป็นเอกภาพซึ่งคนทั่วไปยึดถือร่วมกัน ส่งผลชี้นำทิศทางความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม หรืออย่างน้อยก็คนส่วนใหญ่ในสังคม ให้มีเจตน์จำนงในการกระทำไปในทางใดทางหนึ่ง ค่านิยมเหล่านี้ อาจเกิดจากความเชื่อทางศาสนา การเมือง หรือปัจจัยอื่นๆ และค่านิยมเหล่านี้ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ค่านิยมบางอย่าง อาจถูกพิสูจน์ว่าผิด หรือปรากฏผลในระยะยาวให้ประจักษ์ในทางเสียหาย หรือถูกทดแทนด้วยค่านิยมอย่างใหม่ที่เชื่อว่าดีกว่า ก็ได้   
 (อ่านต่อ...)

 

การจัดสรรทรัพยากรที่เป็นธรรม : เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ - เศรษฐกิจพอเพียง

ทรัพยากรของโลกนั้นไม่ได้มีอยู่อย่างเอนกอนันต์เช่นที่บรรพชนของคนอเมริกันเข้าใจกันแต่ก่อน วิชาการจัดสรรและจัดการทรัพยากรจึงเกิดมีความสำคัญขึ้น เพื่อจัดวางระบบเศรษฐกิจให้แก่มนุษย์ทั้งในระดับบัจเจก (Micro Economics) และระดับสังคม (Macro Economics) แต่กระบวนการจัดการทางเศรษฐกิจนี้ก็ ไม่ควร/ไม่สามารถ ที่จะให้เป็นไปเพียงเป้าหมายเพื่อการสนองความต้องการ ความปรารถนาของบุคคล หรือกลุ่มคน ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด โดยไม่คำนึกถึงผลกระทบเชื่อมโยงกับระบบความสัมพันธ์อื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี รวมทั้งความเป็นมนุษย์  
 (อ่านต่อ...)

 

อำนาจการปกครองที่เป็นธรรม : ธรรมาธิปไตย - ธรรมาภิบาล

การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น นอกจากจะพัฒนาที่ตัวบุคคล, สัมพันธภาพระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรแล้ว สัมพันธภาพระหว่างคนกับคน หรือการสร้างระบบสังคม ก็จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เอื้อต่อกันทั้งระบบ และสอดคล้องกับความเป็นจริง

ถ้ามองเริ่มจากการจัดระบบสังคมเพื่อการจัดสรรทรัพยากร หรือการเข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต ก็หมายถึงการวางระบบการงานอาชีพให้แก่คนในสังคม ซึ่งในความเป็นจริง คนที่จะเมาสู่ระบบของการทำงานอาชีพนี้ ก็มีความต้องการอยู่ 2 ประเภท นั่นเอง คือ ตัณหา และฉันทะ แต่มีบางอย่างมาก บางอย่างน้อย ไม่เท่ากัน
   (อ่านต่อ...)




[ แหล่งศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติม ]

- การพัฒนาที่ยั่งยืน

- เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ

ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ
  (จุดบรรจบ: รัฐศาสตร์ กับ นิติศาสตร์)




 

 

"ญาณเวศก์.ออนไลน์" เป็นช่องทางสื่อธรรมแนวทดลอง ที่เริ่มต้นจาก "หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์" ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งในวัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม
ตั้งขึ้นเพื่อ "ประโยชน์อันกว้างขวางมั่นคงถาวรในการศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา แก่นักศึกษาและผู้สนใจในกาลต่อไป"

เมื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น "การศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา...ในกาลต่อไป" จึงไม่จำกัดอยู่เพียงอาคารหลังใดหลังหนึ่ง
หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย และไร้ข้อจำกัดด้านกาลเวลา

"ญาณเวศก์.ออนไลน์" จึงเกิดขึ้นเพื่อการทดลองนำเสนอสื่อธรรม ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ สมสมัย และสอดคล้องตามหลักพุทธธรรม
โดยมิได้มุ่งให้เกิดความเชื่ออย่างงมงาย หรือยึดติดในตัวบุคคล แต่เอื้อให้เกิดการตั้งคำถาม ตรวจสอบ ศึกษา และนำไปสู่การพัฒนา ทั้งในระดับชีวิตของปัจเจกบุคคล และระบบสังคม ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ และโลกทั้งมวล


เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง