ติดต่อ ศูนย์สิกขา วัดญาณเวศกวัน
โทรศัพท์ ๐๒-๔๘๒-๗๓๖๕ และ ๐๓๔-๑๐๒-๓๗๓ กด ๒
LINE Official Account ID : @watonline
- เหมาะสำหรับทุกคนที่ร่วมเป็นสมาชิกในสังคม ไม่ว่าจะสนใจหรือเบื่อการเมืองก็ตาม
- กรุณาเตรียม notebook หรือ tablet มาด้วย
มุมมองต่อสังคม ที่แท้จำเป็นต้องได้รับการฝึกฝน และพัฒนา เราถูกสอนกันผิดๆ ให้มองโลกทีละตอน ทีละส่วน ด้วยความเชี่ยวชาญชำนาญเฉพาะด้าน โดยไม่ตระหนักถึงความไม่สมบูรณ์ของมุมมองนั้น และเมื่อเราตัดความจริงออกเป็นชิ้น ๆ เราก็ไม่อาจมองเห็นความเป็นเหตุ เป็นผล ที่เกี่ยวพันกันของสรรพปรากฏการณ์
(อ่านต่อ...)
การพัฒนาที่ยั่งยืน กำลังเป็นคำนิยมไม่เฉพาะเมืองไทยเท่านั้น แต่เป็นที่นิยมพูดกันทั่วโลก ที่จริงนั้น ไม่ใช่ว่า “ไม่นิยมเฉพาะเมืองไทยแต่นิยมไปทั่วโลก” แต่ควรจะพูดในทางกลับกันว่า “เพราะทั่วโลกเขานิยมพูดกัน เมืองไทยก็เลยนิยมตามไปด้วย”
ที่มีการพัฒนาที่ยั่งยืน ก็เพราะว่าโลกนี้ประสบปัญหากับการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน ก็เลยต้องคิดแบบแผนการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นมา
(อ่านต่อ...)
ค่านิยมทางสังคม (Social value) คือความคิดของกลุ่มหรือสังคมเกี่ยวกับพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม หรือถูกทำนองคลองธรรม สิ่งใดถูกสิ่งใดผิด สิ่งใดน่านิยมชมชอบ สิ่งใดน่ารังเกียจ .. ที่เป็นเอกภาพซึ่งคนทั่วไปยึดถือร่วมกัน ส่งผลชี้นำทิศทางความคิดและพฤติกรรมของคนในสังคม หรืออย่างน้อยก็คนส่วนใหญ่ในสังคม ให้มีเจตน์จำนงในการกระทำไปในทางใดทางหนึ่ง ค่านิยมเหล่านี้ อาจเกิดจากความเชื่อทางศาสนา การเมือง หรือปัจจัยอื่นๆ และค่านิยมเหล่านี้ ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ค่านิยมบางอย่าง อาจถูกพิสูจน์ว่าผิด หรือปรากฏผลในระยะยาวให้ประจักษ์ในทางเสียหาย หรือถูกทดแทนด้วยค่านิยมอย่างใหม่ที่เชื่อว่าดีกว่า ก็ได้ (อ่านต่อ...)
ทรัพยากรของโลกนั้นไม่ได้มีอยู่อย่างเอนกอนันต์เช่นที่บรรพชนของคนอเมริกันเข้าใจกันแต่ก่อน วิชาการจัดสรรและจัดการทรัพยากรจึงเกิดมีความสำคัญขึ้น เพื่อจัดวางระบบเศรษฐกิจให้แก่มนุษย์ทั้งในระดับบัจเจก (Micro Economics) และระดับสังคม (Macro Economics) แต่กระบวนการจัดการทางเศรษฐกิจนี้ก็ ไม่ควร/ไม่สามารถ ที่จะให้เป็นไปเพียงเป้าหมายเพื่อการสนองความต้องการ ความปรารถนาของบุคคล หรือกลุ่มคน ที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด โดยไม่คำนึกถึงผลกระทบเชื่อมโยงกับระบบความสัมพันธ์อื่นๆ เช่น สภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี รวมทั้งความเป็นมนุษย์ (อ่านต่อ...)
การพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น นอกจากจะพัฒนาที่ตัวบุคคล, สัมพันธภาพระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรแล้ว สัมพันธภาพระหว่างคนกับคน หรือการสร้างระบบสังคม ก็จำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้เอื้อต่อกันทั้งระบบ และสอดคล้องกับความเป็นจริง
ถ้ามองเริ่มจากการจัดระบบสังคมเพื่อการจัดสรรทรัพยากร หรือการเข้าถึงปัจจัยในการดำรงชีวิต ก็หมายถึงการวางระบบการงานอาชีพให้แก่คนในสังคม ซึ่งในความเป็นจริง คนที่จะเมาสู่ระบบของการทำงานอาชีพนี้ ก็มีความต้องการอยู่ 2 ประเภท นั่นเอง คือ ตัณหา และฉันทะ แต่มีบางอย่างมาก บางอย่างน้อย ไม่เท่ากัน
(อ่านต่อ...)