จากพุทธธรรม สู่การจัดตั้งวางระบบสังคม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่ความเป็นอริยะ

 
      พุทธธรรม ก็คือขั้นของธรรม เป็นเรื่องของการรู้ความจริง
แห่ง
ธรรมดาของธรรมชาติ ธรรมดาของโลก ของชีวิต มุ่งที่รู้ความจริง
ส่วนการ
ปฏิบัติต่อความจริง ตามความจริงนั้น พูดไว้บ้างในขั้นพื้นๆ
อย่างเป็นของ
แถม เฉพาะอย่างยิ่งในระดับของบุคคล
ส่วนในวงกว้างออกไประดับสังคม
หรือโลกมนุษย์ ก็ยกไปเป็นงานอีกขั้นหนึ่ง
อริยวินัย ก็คืองานอีกขั้นหนึ่งนั้น ที่จะนําเอาความรู้ของพุทธธรรม
ไปจัดตั้งวางระบบจัดการทางสังคม ให้โลกมนุษย์ได้ประโยชน์จริงจังจากพุทธธรรม
ด้วยปัญญาที่หยั่งรู้เข้าถึงทั่วชัด และด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งดี

เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์อย่างแท้จริง ดังที่เรียกว่า อย่างอริยะ
โดย
จัดเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง และระบบกิจการต่างๆ ทางสังคม
นี่คือที่ได้บอกว่า เมื่อเขียนหนังสือพุทธธรรมแล้ว อาจจะต้อง (หรือควรจะต้อง)
มีหนังสืออริยวินัยมาต่อเป็นคู่ ความหมายก็มีดังที่กล่าวมานี้

ทีนี้ อริยวินัยนั้น ถึงจะยังไม่ได้เขียน และจะไม่มีโอกาสเขียน
แต่ใน
เวลาค่อนข้างยาวนานที่ผ่านมา ก็ได้มีเหตุการณ์ที่อาจจะเรียกว่าบังเอิญ
เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ที่ทําให้ได้พูดเรื่องจําพวกนี้ไว้ประปรายและกระจัดกระจาย
แล้วก็ได้พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มย่อยๆ ย่อมๆ

หนังสือที่มีลักษณะเนื้อหาเชิงอริยวินัย ก็มีตัวอย่าง เช่น
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, นิติศาสตร์แนวพุทธ, ประชาธิปไตยไม่ยาก ถ้า
(ใจจริง)อยากได้,
ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

ที่เรียกว่าแนวพุทธๆ นั้น ก็เป็นทํานองว่าเรานําเอาหลักธรรมมาสื่อสาร
มาแสดงเป็นแนวของการจัดตั้งวางระบบชีวิตและกิจการต่างๆ

อย่างระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง เป็นต้น
ในระยะแรก ก็อาจจะยังหลวมๆ หรือเป็นแนวอยู่ ครั้นเมื่อเป็นระบบชัดขึ้นมา
ก็คือเป็นอริยวินัยที่ว่านั้น

ที่มา: หนังสือ "มองหนังสือ พุทธธรรม ถามหาอนาคต" หน้า ๒๙ - ๓๔
ตอน “พุทธธรรม” จบไป “อริยวินัย” ไม่เห็นมา
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)

 

คลิกชมคลิป แนะนำโครงการ "ตามรอย..อริยวินัย"


ชวนอ่าน ชวนทำ

ชวนกันอ่านหนังสือ แล้วร่วมกันลงมือทำ
จากพุทธธรรม สู่การจัดตั้งวางระบบสังคม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่ความเป็นอริยะ
ทุกวันอาทิตย์  ๐๙.๐๐ - ๑๐.๓๐ น.
(เริ่ม ๘ ม.ค. ๖๖)
ณ ศูนย์สิกขา  วัดญาณเวศกวัน
หรือห้องประชุมซูม  (คลิกเพื่อเข้าห้องประชุม)

อ่าน ฟัง นั่ง เดิน เจริญกุศล

ร่วมกันศึกษาธรรมะ
น้อมนำสู่การปฏิบัติ ในทุกขณะของชีวิต
เพื่อพัฒนาภายในแห่งตน และสังคมส่วนรวม
ทุกวันอาทิตย์  ๑๙.๓๐ - ๒๐.๓๐ น.
(เริ่ม ๑ ม.ค. ๖๖)
ทางห้องประชุมซูม  (คลิกเพื่อเข้าห้องประชุม)

เกมภาวนา

ร่วมเรียนรู้ผ่านนวัตกรรม เกมภาวนา 
ทุกวันเสาร์ที่ ๓ ณ ศูนย์สิกขา วัดญาณเวศกวัน
ทุกวันเสาร์ที่ ๔ ณ สวนโมกข์กรุงเทพ
(เริ่ม ๒๑ ม.ค. ๖๖)
 

ปาฐกถาพิเศษ ตามรอย..อริยวินัย

โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
วันพุธที่ ๒๓ พ.ย. ๖๖ 
เวลา ๑๔.๐๐ น.
ณ อุโบสถ  วัดญาณเวศกวัน
 
ได้รับความอนุเคราะห์ห้องประชุมซูมจากหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ






ตัวอย่างสื่อธรรม .. หมวดการศึกษา / ศิลปศาสตร์

   ๘ ม.ค.   สู่การศึกษาแนวพุทธ
๑๕ ม.ค.  งดกิจกรรม เนื่องจากงานฉลองพระประธาน พระอุโบสถวัดญาณเวศกวัน
๒๒ ม.ค.  ศิลปศาสตร์แนวพุทธศิลปศาสตร์เพื่อการศึกษาที่ยั่งยืน
๒๙ ม.ค.   การศึกษาฉบับง่าย
   ๕ ก.พ.   พุทธศาสนาในฐานะเป็นรากฐานของวิทยาศาสตร์
๑๒ ก.พ.   คนไทยกับเทคโนโลยี, ชีวิตในสังคมเทคโนโลยี
๑๙ ก.พ.   ไอที: ภายใต้วัฒนธรรมแห่งปัญญา (ศาสนากับยุคโลกาภิวัตน์)
๒๖ ก.พ.   เทคโนโลยีกับศาสนา

ตัวอย่างสื่อธรรม .. หมวดนิติศาสตร์ / รัฐศาสตร์

  ๕  มี.ค.   วินัย เรื่องใหญ่กว่าที่คิด
๑๒ มี.ค. นิติศาสตร์แนวพุทธ
๑๙ มี.ค. รัฐศาสตร์เพื่อชาติ VS รัฐศาสตร์เพื่อโลก
๒๖ มี.ค. สลายความขัดแย้ง: เข้มแข็งด้วยปัญญา
  ๒ เม.ย.   การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย
๙ เม.ย. ประเทศเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ถ้าประชาชนไม่เป็นธรรมาธิปไตย
๑๖ เม.ย. มองให้ลึก นึกให้ไกล: ข้อคิดจากเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕
๒๓ เม.ย. ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ (จุดบรรจบ: รัฐศาสตร์ กับ นิติศาสตร์)
๓๐ เม.ย. พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก
   ๗ พ.ค.   ตอบ เรื่อง พ.ร.บ.คณะสงฆ์
๑๔ พ.ค. ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ
เจาะหาความจริงเรื่องศาสนาประจำชาติ
๒๑ พ.ค. สถาบันสงฆ์กับสังคมปัจจุบัน
๒๘ พ.ค. การศึกษาของคณะสงฆ์: ปัญหาที่รอทางออก
ทิศทางการศึกษาของคณะสงฆ์

ตัวอย่างสื่อธรรม .. หมวดเศรษฐศาสตร์

   ๔ มิ.ย.   เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑๑ มิ.ย. เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
๑๘ มิ.ย. การศึกษากับเศรษฐกิจ ฝ่ายไหนจะรับใช้ฝ่ายไหน
๒๕ มิ.ย. ทางออกจากระบบเศรษฐกิจที่ครอบงำสังคมไทย
   ๒ ก.ค.   บทนำสู่พุทธธรรม: ชีวิตงาม สังคมดี ธรรมชาติเป็นรมณีย์
๙ ก.ค. คนรักษ์ป่า ป่ารักษ์คน
๑๖ ก.ค. การศึกษาเริ่มต้นเมื่อคนกินอยู่เป็น
๒๓ ก.ค. ทำบุญพื้นฐาน คือ ทำหมู่บ้านให้เป็นรมณีย์
๓๐ ก.ค. มีวัดเป็นรมณีย์ มีกุฎีเป็นที่สบาย

ตัวอย่างสื่อธรรม .. หมวดสุขภาวะองค์รวม

   ๖ ส.ค.   สุขภาวะองค์รวมแนวพุทธ
๑๓ ส.ค. รักษาใจยามป่วยไข้
๒๐ ส.ค. ธรรมกถาสำหรับญาติของผู้ป่วย
๒๗ ส.ค. โพชฌงค์: พุทธวิธีเสริมสุขภาพ
   ๓ ก.ย.   ดุลยภาพ: สาระแห่งสุขภาพและความสมบูรณ์
๑๐ ก.ย. รักษาใจยามรักษาคนไข้
๑๗ ก.ย. ยุคโลกาภิวัตน์: บทบาทของแพทย์กับความหวังจากคนไข้
๒๔ ก.ย. อายุรแพทย์กับปัญหาจริยธรรม
พระพุทธศาสนากับการบริจาคอวัยวะ
   ๑ ต.ค.   การแพทย์แนวพุทธ
๘ ต.ค. ช่วยให้ตายเร็ว หรือช่วยให้ตายดี
๑๕ ต.ค. กรรมกับโรคพันธุกรรม ในทัศนะพระพุทธศาสนา
ทำแท้ง และสารพันปัญหา - ชีวิต กับการตัดสินใจทางการแพทย์
๒๒ ต.ค. อยู่ก็สบาย ตายก็เป็นสุข
ระลึกถึงความตาย และวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องต่อความตาย
๒๙ ต.ค. พัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยจิตวิทยาแบบยั่งยืน

ตัวอย่างสื่อธรรม .. ภาพรวม อริยวินัย

 ๕ พ.ย.   มองหนังสือพุทธธรรม ถามหาอนาคต (หน้า ๒๙)
** งดกิจกรรม เนื่องจากงานกฐิน วัดญาณเวศกวัน **
๑๒ พ.ย. การพัฒนาที่ยั่งยืน
๑๙ พ.ย. การพัฒนาที่ยั่งยืน
๒๓ พ.ย. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง การพัฒนาที่ยั่งยืน
โดยพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล
เวลาประมาณ ๑๔.๐๐ น.
ขออนุญาตบันทึกภาพและเสียงในการจัดกิจกรรม เพื่อนำไปเผยแพร่ย้อนหลัง
"ญาณเวศก์.ออนไลน์" เป็นช่องทางสื่อธรรมแนวทดลอง ที่เริ่มต้นจาก "หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์" ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งในวัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม
ตั้งขึ้นเพื่อ "ประโยชน์อันกว้างขวางมั่นคงถาวรในการศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา แก่นักศึกษาและผู้สนใจในกาลต่อไป"

เมื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น "การศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา...ในกาลต่อไป" จึงไม่จำกัดอยู่เพียงอาคารหลังใดหลังหนึ่ง
หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย และไร้ข้อจำกัดด้านกาลเวลา

"ญาณเวศก์.ออนไลน์" จึงเกิดขึ้นเพื่อการทดลองนำเสนอสื่อธรรม ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ สมสมัย และสอดคล้องตามหลักพุทธธรรม
โดยมิได้มุ่งให้เกิดความเชื่ออย่างงมงาย หรือยึดติดในตัวบุคคล แต่เอื้อให้เกิดการตั้งคำถาม ตรวจสอบ ศึกษา และนำไปสู่การพัฒนา ทั้งในระดับชีวิตของปัจเจกบุคคล และระบบสังคม ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ และโลกทั้งมวล


เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง