จากพุทธธรรม สู่การจัดตั้งวางระบบสังคม
เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน สู่ความเป็นอริยะ

 พุทธธรรม ก็คือขั้นของธรรม เป็นเรื่องของการรู้ความจริง
แห่ง
ธรรมดาของธรรมชาติ ธรรมดาของโลก ของชีวิต มุ่งที่รู้ความจริง
ส่วนการ
ปฏิบัติต่อความจริง ตามความจริงนั้น พูดไว้บ้างในขั้นพื้นๆ
อย่างเป็นของ
แถม เฉพาะอย่างยิ่งในระดับของบุคคล
ส่วนในวงกว้างออกไประดับสังคม
หรือโลกมนุษย์ ก็ยกไปเป็นงานอีกขั้นหนึ่ง
อริยวินัย ก็คืองานอีกขั้นหนึ่งนั้น ที่จะนําเอาความรู้ของพุทธธรรม
ไปจัดตั้งวางระบบจัดการทางสังคม ให้โลกมนุษย์ได้ประโยชน์จริงจังจากพุทธธรรม
ด้วยปัญญาที่หยั่งรู้เข้าถึงทั่วชัด และด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์มุ่งดี

เพื่อประโยชน์สุขแก่มวลมนุษย์อย่างแท้จริง ดังที่เรียกว่า อย่างอริยะ
โดย
จัดเป็นระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง และระบบกิจการต่างๆ ทางสังคม
นี่คือที่ได้บอกว่า เมื่อเขียนหนังสือพุทธธรรมแล้ว อาจจะต้อง (หรือควรจะต้อง)
มีหนังสืออริยวินัยมาต่อเป็นคู่ ความหมายก็มีดังที่กล่าวมานี้

ทีนี้ อริยวินัยนั้น ถึงจะยังไม่ได้เขียน และจะไม่มีโอกาสเขียน
แต่ใน
เวลาค่อนข้างยาวนานที่ผ่านมา ก็ได้มีเหตุการณ์ที่อาจจะเรียกว่าบังเอิญ
เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว ที่ทําให้ได้พูดเรื่องจําพวกนี้ไว้ประปรายและกระจัดกระจาย
แล้วก็ได้พิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเล่มย่อยๆ ย่อมๆ

หนังสือที่มีลักษณะเนื้อหาเชิงอริยวินัย ก็มีตัวอย่าง เช่น
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ, นิติศาสตร์แนวพุทธ, ประชาธิปไตยไม่ยาก ถ้า
(ใจจริง)อยากได้,
ธรรมาธิปไตยไม่มา จึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ

ที่เรียกว่าแนวพุทธๆ นั้น ก็เป็นทํานองว่าเรานําเอาหลักธรรมมาสื่อสาร
มาแสดงเป็นแนวของการจัดตั้งวางระบบชีวิตและกิจการต่างๆ

อย่างระบบการศึกษา ระบบเศรษฐกิจ ระบบการเมืองการปกครอง เป็นต้น
ในระยะแรก ก็อาจจะยังหลวมๆ หรือเป็นแนวอยู่ ครั้นเมื่อเป็นระบบชัดขึ้นมา
ก็คือเป็นอริยวินัยที่ว่านั้น

ที่มา: หนังสือ "มองหนังสือ พุทธธรรม ถามหาอนาคต" หน้า ๒๙ - ๓๔
ตอน “พุทธธรรม” จบไป “อริยวินัย” ไม่เห็นมา
โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตฺโต)
 
คลิกชมคลิป แนะนำโครงการ "ตามรอย..อริยวินัย"


-------------------


บทที่ ๑  จากพุทธธรรมสู่อริยวินัย


ศึกษาด้วยตนเอง

ธรรมกถา : อริยสัจสร้างอารยธรรมที่แท้



workshop

(27 ก.ค. 67) : ต้นไม้อริยวินัย


 

-------------------



บทที่ ๒  การศึกษา แนวพุทธ


ศึกษาด้วยตนเอง

ศิลปศาสตร์แนวพุทธ  
[คลิกชมคลิปกิจกรรม ชวนอ่านชวนทำ]

พุทธธรรมกับปรัชญาการศึกษาไทยในยุคโลกาภิวัตน์
 

workshop

(10 ส.ค. 67) : เกมชีวิต
(24 ส.ค. 67) : Goal & Growth Game


 

-------------------



บทที่ ๓  นิติศาสตร์/รัฐศาสตร์ แนวพุทธ


ศึกษาด้วยตนเอง


วินัย เรื่องใหญ่กว่าที่คิด

นิติศาสตร์แนวพุทธ

การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย

ประเทศเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ถ้าประชาชนไม่เป็นธรรมาธิปไตย


workshop

(7 ก.ย. 67) : Bull Battle 
(21 ก.ย. 67) : กลเกม การเมือง


 

-------------------


บทที่ ๔  เศรษฐศาสตร์ แนวพุทธ


ศึกษาด้วยตนเอง




workshop
(5 ต.ค. 67) : เกม-เหลือ-ขอ
(19 ต.ค. 67) : The most of us & The platform


 

-------------------


บทที่ ๕  สุขภาวะองค์รวม แนวพุทธ


ศึกษาด้วยตนเอง




workshop
(2 พ.ย. 67) : กรณีศึกษา ครอบครัวเจ็บป่วย


-------------------

 

บทสรุป  การพัฒนาที่ยั่งยืน


ศึกษาด้วยตนเอง




workshop
(16 พ.ย. 67) : SDGs
 

-------------------

"ญาณเวศก์.ออนไลน์" เป็นช่องทางสื่อธรรมแนวทดลอง ที่เริ่มต้นจาก "หอญาณเวศก์ธรรมสมุจย์" ซึ่งเป็นอาคารหลังหนึ่งในวัดญาณเวศกวัน อ.สามพราน จ.นครปฐม
ตั้งขึ้นเพื่อ "ประโยชน์อันกว้างขวางมั่นคงถาวรในการศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา แก่นักศึกษาและผู้สนใจในกาลต่อไป"

เมื่อสังคมออนไลน์มีบทบาทมากขึ้น "การศึกษาค้นคว้างานทางพระพุทธศาสนา...ในกาลต่อไป" จึงไม่จำกัดอยู่เพียงอาคารหลังใดหลังหนึ่ง
หากแต่สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่ ผ่านรูปแบบที่หลากหลาย และไร้ข้อจำกัดด้านกาลเวลา

"ญาณเวศก์.ออนไลน์" จึงเกิดขึ้นเพื่อการทดลองนำเสนอสื่อธรรม ในรูปแบบที่สร้างสรรค์ สมสมัย และสอดคล้องตามหลักพุทธธรรม
โดยมิได้มุ่งให้เกิดความเชื่ออย่างงมงาย หรือยึดติดในตัวบุคคล แต่เอื้อให้เกิดการตั้งคำถาม ตรวจสอบ ศึกษา และนำไปสู่การพัฒนา ทั้งในระดับชีวิตของปัจเจกบุคคล และระบบสังคม ที่มีต่อเพื่อนมนุษย์ และโลกทั้งมวล


เนื้อหาในเว็บไซต์นอกเหนือจากไฟล์หนังสือและไฟล์เสียงธรรมบรรยาย เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นใหม่เพื่อช่วยในการศึกษาค้นคว้าของผู้สนใจ โดยมิได้ผ่านการตรวจทานจากสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
ผู้ใช้พึงตรวจสอบกับตัวเล่มหนังสือหรือเสียงธรรมบรรยายต้นฉบับก่อนนำข้อมูลไปใช้ในการอ้างอิง